ปัญหาสีเคลือบเงา
1. ปัญหา : ฟิล์มสีย่น
สาเหตุ : เกิดจากการดึงกันระหว่างชั้นของฟิล์มสี เนื่องจากทิ้งระยะเวลาทาสีทับน้อยเกินไป
การแก้ไข :ขูดลอกฟิล์มสีย่นออกให้หมดก่อน แล้วจึงทำการทาสีใหม่
การป้องกัน : ควรทาสีให้ได้ความหนาที่พอเหมาะและทิ้งระยะเวลาทาทับตามคำแนะนำของผู้ผลิต (ไม่ควรน้อยกว่า 8-10 ชม.)
2. ปัญหา : ฟิล์มสีพอง
สาเหตุ : ใช้ทินเนอร์ที่มีความแรงเกินไป มาผสมสีเพื่อเคลือบเที่ยวที่สอง ทำให้ฟิล์มสีชั้นแรก (ฟิล์มสีเดิม) พองขึ้นมา
หรือเกิดจากการซ่อมสี โดยใช้สีใหม่มาเคลือบสีเดิมที่ไม่ทราบประวัติ ทำให้ฟิล์มสีเดิมพองขึ้นมา
การแก้ไข : ขูดลอกฟิล์มสีที่พองออกให้หมดก่อนแล้วทำการเคลือบสีใหม่
การป้องกัน : การเคลือบทับเที่ยวที่สองและการซ่อมสี ควรใช้ทินเนอร์ระบบเดียวกับฟิล์มสีชั้นแรก (ฟิล์มสีเดิม) ควรมีการทดลองเคลือบสีบนพื้นที่บริเวณเล็กๆ ก่อนทำการซ่อมสีจริง หากฟิล์มสีเดิมที่ไม่ทราบประวัติพอง แสดงว่าไม่สามารถนำสีซ่อมนั้นมาใช้งานได้
ปัญหาสีน้ำอะครีลิค
1. ปัญหา :สีหลุดล่อน
เตรียมพื้นผิวไม่ดีพอ
สาเหตุ :มีฝุ่นละอองคราบสิ่งสกปรกต่างๆ บนพื้นผิว การทาสีบนพื้นผิวดังกล่าว ทำให้การยึดเกาะของสีไม่ดี และหลุดล่อนในที่สุด
การแก้ไข :ขูด ลอก ฟิล์มสีที่หลุดล่อนและล้างทำความสะอาดพื้นผิวบริเวณดังกล่าวด้วยการใช้ น้ำ+ผงซักฟอก+แปรง
ทิ้งให้พื้นผิวแห้ง แล้วจึงทาสีเพื่อซ่อมงานตามระบบต่อไป
การป้องกัน : ควรล้างทำความสะอาดพื้นผิวด้วยการใช้ น้ำ+แปรง+ผงซักฟอก เพื่อกำจัดฝุ่นละออง คราบสกปรกต่างๆ ทิ้งพื้นผิวให้แห้ง จากนั้นทาสีรองพื้นปูนใหม่-เก่า ก่อนงานทาสีทุกครั้ง
2.พื้นผิวปูนหมดอายุ
สาเหตุ : พื้นผิวปูนเป็นฝุ่นแตกหลุดออกมาเป็นผงปูน และทราย
การแก้ไข :พื้นปูนที่หมดอายุจนไม่สามารถซ่อมได้ควรเตรียมพื้นผิวใหม่ โดยการฉาบปูนใหม่
การป้องกัน : ควรทาสีตามขั้นตอนให้ถูกหลักเพื่อเพิ่มอายุให้กับสีทับหน้า และผนังปูนด้านในเพื่อให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานที่สุด
3.สีเดิมหมดสภาพ
สาเหตุ : พื้นผิวจะเห็นฝุ่น (สีเดิมที่หมดสภาพ) จะทำให้สียึดเกาะกับผนังปูนไม่ดีในที่สุดจะหลุดล่อน
การแก้ไข :ใช้เครื่องมือขูดลอกสีที่หลุดล่อนและสีเดิมที่เสื่อมสภาพออกให้หมด ล้างทำความสะอาดพื้นผิว ก่อนทาสี เพื่อซ่อมงานตามระบบต่อไป : ในทางปฏิบัติการขูดลอกสี และล้างฟิล์มสีเดิม คงไม่สามารถกระทำได้อย่างสมบูรณ์ จึงขอแนะนำให้ขูดล้างออกมากที่สุด แล้วใช้น้ำยารองพื้นปูนเก่า ทา 1 เที่ยว เพื่อช่วยในการเชื่อมยึดระหว่างสีทับหน้ากับผนังปูนที่มีสีเดิมค้างอยู่
การป้องกัน : ควรล้างสีเก่าที่หมดอายุออกให้หมดก่อนเริ่มงานทาสี
5. ทาสีในขณะที่เตรียมพื้นผิวไม่เรียบร้อย
สาเหตุ : ใช้งานสีในขณะที่พื้นปูนที่มีความร้อน โดยเฉพาะงานภายนอก ทำให้น้ำในสีซีเมนต์ ระเหยออกไป (ซีเมนต์แห้งเร็วกว่าปกติ) การยึดเกาะของซีเมนต์กับพื้นปูนลดลง การทาสีทับลงไปบน ซีเมนต์ดังกล่าว ก็เหมือนกับทาสีบนพื้นที่มีฝุ่น ทำให้การยึดเกาะของสีไม่ดี และหลุดล่อนในที่สุด
การแก้ไข :ขูดลอกฟิล์มสีที่หลุดล่อนออกให้หมด และล้างทำความสะอาดพื้นผิวดังกล่าวด้วย น้ำ+ผงซักฟอก+แปรง ทิ้งพื้นปูนให้แห้ง แล้วจึงซ่อมงานสีตามระบบต่อไป
การป้องกัน : ไม่แนะนำให้ใช้สีฝุ่นหรือสีซีเมนต์เป็นสีรองพื้นอาคารโดยเฉพาะงานภายนอก ขอแนะนำ ให้ใช้สีรองพื้นปูนกันด่างภายนอกเท่านั้น
6. สีปูด บวม พอง
สาเหตุ : เนื่องจากมีความชื้นหลังการฉาบ
การแก้ไข :ขูดลอกสีปูด บวม พอง ออกให้หมดล้างทำความสะอาดพื้นผิว ทิ้งให้แห้งแล้วจึงทาสีตามระบบ
สำหรับงานภายใน : แนะนำให้ใช้น้ำยาอีพ็อกซี่เคลือบกันน้ำซึมในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผนังห้องน้ำ ฝ้าเพดาน
ส่วนกันสาดหรือดาดฟ้า หมั่นดูแลอย่าให้มีน้ำกักขังในฤดูฝน
การป้องกัน : พื้นผิวก่อนทาสี ควรมีปริมาณความชื้น <17% ก่อนลงมือทาสีหรือซ่อมสีอาคาร ควรตรวจ สภาพอาคารโดยรอบอย่าให้มีน้ำขังตามบริเวณกันสาด, ดาดฟ้า
7. ฟิล์มสีเกิดเชื้อรา
สาเหตุ : มักเกิดกับบริเวณการใช้งานสีที่มีความชื้นสูง ใต้ร่มเงา หรือบริเวณแสงแดดส่องไม่ถึง ซึ่งเป็นสภาวะที่เกิดเชื้อราได้ง่าย
การแก้ไข : ต้องกำจัดเชื้อราโดยใช้สารละลาย 10% โซเดียมไฮโปรคลอไรท์ หรือใช้น้ำยาซักผ้าขาว (ไฮเตอร์) ตามท้องตลาดนำมาเจือจางให้มีความเข้มข้น 20 %
การป้องกัน : จัดพื้นที่ให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกมีแสงสว่างเข้าถึง เพื่อป้องกันมิให้เชื้อราเจริญเติบโตได้
8. ฟิล์มสีมีตะไคร่น้ำ
สาเหตุ : มักเกิดกับบริเวณการใช้งานสีที่มีความชื้นสูงที่น้ำขังแช่อยู่เป็นเวลานาน
การแก้ไข : ต้องล้างขัดตะไคร่น้ำออกให้หมดด้วย น้ำ+แปรง+ผงซักฟอก ทาด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อรา, ตะไคร่น้ำ ทิ้งพื้นผิวให้แห้ง (ความชื้น <15%) แล้วจึงทาสีตามระบบ
การป้องกัน : แก้ไข/ ดูแล มิให้น้ำขังบนดาดฟ้า หรือกันสาด ระวังมิให้เกิดการอุดตันของท่อทางระบายน้ำ
9. ฟิล์มสีเกิดคราบดำ
1. เกิดจากฝุ่นละออง หรือเขม่าควันดำ
สาเหตุ : เนื่องจากสีบางชนิดฟิล์มสีจะอ่อนนุ่มเมื่อได้รับความร้อน จึงเป็นการเอื้ออำนวยให้ ฝุ่น/เขม่าควันดำ มาเกาะติดฟิล์มสี
การแก้ไข : ล้างทำความสะอาดฟิล์มสีเดิม แล้วทาสีใหม่ทับ
การป้องกัน : เลือกสีให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม โดยฟิล์มสีควรมีความแข็งกว่าเดิม
ใส่ความเห็น